เมนู

ธรรมวินัยนี้ บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
ได้โดยประการทั้งปวงอยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงเนวสัญญานาสัญญายตน-
ฌานนั้น เรากล่าวการละกระทั่งเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ด้วยประการ
ฉะนี้แล ดูก่อนอุทายี เธอเห็นหรือหนอซึ่งสังโยชน์ละเอียดก็ดี หยาบก็ดีนั้น
ที่เรามิได้กล่าวถึงการละนั้น.
อุ. ไม่เห็นเลย พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว ท่านพระอุทายียินดีชื่นชม
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.
จบลฑุกิโกปมสูตรที่ 6

6. อรรถกถาลฏุกิโกปมสูตร1


ลฏฺกิโกปมสูตร

มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมา
อย่างนี้.
ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยน โส วนสณฺโฑ เข้าไปยัง
ไพรสณฑ์นั้น ความว่า พระมหาอุทายีเถระนี้ เข้าไปบิณฑบาตกับพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าแล้วหลีกออกไปพร้อมกับพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น. เพราะฉะนั้นพึงทราบ
ว่า พระมหาอุทายีเถระเข้าไปยังไพรสณฑ์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงเสด็จเข้าไป.
บทว่า อปหตฺตา คือนำออกไป. บทว่า อุปหตฺตา คือนำเข้าไป. บทว่า
ปฏิสลฺลานา วุฏฺฐิโต ท่านพระมหาอุทายีเถระออกจากที่เร้น คือออกจาก
ผลสมาบัติ. บทว่า ยํ ภควา ในสมัยใดพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า อิงฺฆ

1. บาลีว่า ลฑุกิโกปมสูตร

เป็นนิบาต ลงในความบังคับ. บทว่า อญฺญถตฺตํ ความที่จิตเป็นอย่างอื่น.
เราไม่ได้โภชนะอันประณีตเห็นปานนี้ เพราะอาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์
นั้น. จักยังชีวิตให้เป็นไปได้อย่างไร ด้วยประการฉะนี้พึงทราบว่า เพราะอาศัย
ลาภคือโภชนะอันประณีต จึงได้เป็นอยู่ได้.
ด้วยบทว่า ภูตปุพฺพํ เรื่องเคยมีมาแล้วนี้ พระอุทายีเถระแสดงความ
ที่โภชนะเป็นของประณีตในเวลากลางคืน. บทว่า สูเปยฺยํ ของควรจะแกง ได้
แก่ปลา เนื้อและหน่อไม้เป็นต้น ควรนำไปแกง. บทว่า สมคฺคา ภุญฺชิสฺสาม
เราจักบริโภคพร้อมกันคือบริโภคร่วมกัน. บทว่า สงฺขติโย คือของเคี้ยว
สำหรับจะปรุงบริโภค. บทว่า สพฺพา ตา รตฺตึ คือ ของเคี้ยวสำหรับปรุง
บริโภคทั้งหมดเหล่านั้น ย่อมมีรสในเวลากลางคืน. แต่กลางวันมีรสน้อยนิด
หน่อย. เพราะกลางวันมนุษย์ทั้งหลายยังชีวิตให้เป็นไปด้วยข้าวยาคูและข้าวต้ม
เป็นต้น กลางคืนย่อมบริโภคตามส่วนที่ถึง ตามสติ ตามความประณีต. ด้วย
บทว่า ภูตปุพฺพํ นี่อีก ท่านพระอุทายีเถระแสดงถึงโทษในการบริโภคในกลาง
คืนและเวลาวิกาล.
ในบทเหล่านั้นบทว่า อนฺธการติมิสาย ได้แก่ ในเวลามืดมาก. บทว่า
มาณเวหิ ได้แก่ พวกโจร. บทว่า กตกมฺเมหิ คือทำโจรกรรม. ได้ยินว่า
โจรเหล่านั้นทำโจรกรรมฆ่ามนุษย์แล้ว ถือเอาโลหิตในลำคอเป็นต้น เพื่อต้อง
การนำกรรมที่สำเร็จเพราะได้บวงสรวงเทวดาไว้เข้าไปแก้บน. โจรเหล่านั้น
สำคัญว่า เมื่อมนุษย์อื่นถูกฆ่า ก็จักเกิดโกลาหล. ชื่อว่า ผู้แสวงหาบรรพชิตย่อม
ไม่มี จึงจับภิกษุทั้งหลายฆ่า. ท่านกล่าวบทนั้นหมายถึงความข้อนี้. บทว่า
อกตกมฺเมหิ ยังไม่ทำโจรกรรม คือ ประสงค์จะทำพลีกรรมก่อนเพื่อให้สำเร็จ
การงานในเวลามาจากดงเข้าสู่บ้าน.

บทว่า อสทฺธมฺเมน นิมนฺเตติ มาตุคามย่อมเชื้อเชิญด้วยอสัทธรรม
คือ เชื้อเชิญด้วยเมถุนธรรมว่า ข้าแต่ภิกษุ ท่านจงมาเถิด. วันนี้ท่านจักฉันใน
ที่นี้แหละ จักอยู่ในที่นี้ตลอดคืนหนึ่งแล้วเสวยสมบัติ พรุ่งนี้จึงค่อยไป.
ด้วยบทว่า ภูตปุพฺพํ นี้อีก ท่านพระอุทายีเถระกล่าวถึงเหตุที่เห็น
ด้วยตนเอง. บทว่า วิชฺชนฺตริกาย โดยแสงฟ้าแลบคือโดยขณะที่สายฟ้าส่อง
แสง. บทว่า วิสฺสรมกาสิ คือร้องเสียงดัง. บทว่า อภุมฺเม ความว่า
คำว่า ภู ได้แก่ ความเจริญ คำว่า อภู ได้แก่ ความเสื่อม. อธิบายว่า
ความพินาศได้มีแก่เรา. บทว่า ปิสาโจ วต มํ คือ ปีศาจจะมากินเรา.
พึงทราบความในบทนี้ว่า อาตุมารี มาตุมารี ดังต่อไปนี้. บทว่า
อาตุ ได้แก่ บิดา. บทว่า มาตุ ได้แก่ มารดา. ท่านอธิบายว่า บิดาหรือมารดา
ของภิกษุใดยังมีอยู่ มารดาบิดาเกิดความเอ็นดูภิกษุนั้นว่า เป็นบุตรของเรา
แล้วให้ของเคี้ยวของฉันอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้นอนในที่แห่งหนึ่ง ภิกษุนั้นจะไม่
เที่ยวบิณฑบาตในกลางคืนอย่างนี้เลย. แต่มารดาบิดาของท่านคงจะตายเสียแล้ว
ท่านจึงเที่ยวไปอย่างนี้.
บทว่า เอเมวํ ปน ก็อย่างนั้นแล คือ โมฆบุรุษทั้งหลายไม่เห็น
อานิสงส์ไร ๆ อย่างนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงติเตียนจึงตรัสว่า เอว-
มาหํสุ
เขากลับมากล่าวโดยไม่มีเหตุอย่างนี้. ในบทเหล่านั้นบทว่า อาหํสุ
คือ ย่อมกล่าว. บทว่า กึ ปนิมสฺส คือ ทำไมจึงต้องว่ากล่าวเพราะเหตุแห่งโทษ
เพียงเล็กน้อยนี้เล่า. ควรทำเป็นดุจไม่เห็นไม่ได้ยินมิใช่หรือ. บทว่า โอรมตฺ-
ตกสฺส
คือ พอประมาณ. บทว่า อธิสลฺเลขเตวายํ พระสมณะนี้ช่างขัดเกลา
หนักไป คือ พระสมณะนี้ย่อมขัดเกลาเกินไป คือ ทำความพยายามหนักไป ดุจ
ดื่มเนยข้น ดุจตัดสายก้านบัวด้วยเลื่อย. บทว่า สิกฺขากามา ผู้ใคร่ในการศึกษา

คือ ผู้ใคร่การศึกษา ดุจพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นต้นฉะนั้น. ไม่เข้า
ไปตั้งความยำเกรงในท่านเหล่านั้น. โมฆบุรุษเหล่านั้นมีความคิดอย่างนี้ว่าหาก
ภิกษุเหล่านี้พึงกล่าวว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์จงนำโทษเพียง
เล็กน้อยออกไป. ทำไมพระศาสดาไม่ทรงนำออกไป. อนึ่ง ครั้นภิกษุทั้งหลาย
ไม่กล่าวอย่างนี้นั่งแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมได้ความอุตสาหะอย่างยิ่งว่า
เอวํ ภควา สาธุ ภควา สาธุ ภควา ปญฺญเปถ ภควา ความว่าข้าแต่
พระผู้มีพระภาคเจ้า อย่างนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นความดี ข้าแต่พระผู้-
มีพระภาคเจ้า เป็นความดี ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์ทรงบัญญัติ
เถิด. เพราะฉะนั้น โมฆบุรุษทั้งหลายชื่อว่า ไม่เข้าไปตั้งความยำเกรงในภิกษุ
เหล่านั้น.
บทว่า เตสํ คือ แห่งโมฆบุรุษบางพวกเหล่านั้น. บทว่า ตํ คือ
ควรละโทษเพียงเล็กน้อยนั้น. บทว่า. ถูโล กฬิงฺคโร เหมือนท่อนไม้ใหญ่
คือ เหมือนไม้ใหญ่ผูกไว้ที่คอ. บทว่า ลฏุกิกา1 สกุณิกา คือ นางนกมูลไถ.
นัยว่านางนกมูลไถ่นั้นร้อง 100 ครั้ง ฟ้อน 100 ครั้ง หาอาหารคราวเดียว. คน
เลี้ยงโคเป็นต้นเห็นนางนกมูลไถนั้นบินจากอากาศยืนอยู่บนพื้นดินจึงเอาเถาวัลย์
หัวด้วนผูกไว้เพื่อจะเล่นอย่างเลี้ยงลูกสัตว์. ท่านกล่าวอุปมานี้หมายถึงการผูกนั้น.
บทว่า อาคเมติ ย่อมรอคือย่อมถึง. บทว่า ตญฺหิ ตสิสา คือ การผูกด้วย
เถาวัลย์หัวด้วนนั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องผูกมัดมีกำลัง เพราะนางนกมูลไถมีร่างกาย
เล็กและมีกำลังน้อย เชือกใยกาบมะพร้าวก็ยังใหญ่ขาดได้ยาก.
บทว่า เตสํ ชื่อว่าเครื่องผูกมัดมีกำลังเพราะโมฆบุรุษมีศรัทธาอ่อน
และเพราะมีปัญญาอ่อน แม้โทษเพียงวัตถุแห่งอาบัติทุกกฏ ก็เป็นของใหญ่
ละได้ยาก ดุจวัตถุแห่งปาราชิกฉะนั้น.
1. บาลีเป็น ลฑุกิกา.

พึงทราบความในธรรมฝ่ายขาวดังต่อไปนี้. บทว่า ปหาตพฺพสฺส
พึงละ ความว่า มีข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ควรตรัสเพราะเหตุแห่งโทษเพียง
เล็กน้อยที่ควรละนี้ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสให้เราละ. อธิบายว่า แม้ทราบ
พระประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้แล้ว ก็ควรละมิใช่หรือ. บทว่า
อปฺโปสฺสุกฺกา มีความขวนขวายน้อย คือไม่มีความขวนขวายเลย. บทว่า
ปนฺนโลมา มีขนตก คือ ไม่มีขนชัน เพราะกลัวจะพึงละโทษเพียงเล็กน้อย
นั้น. บทว่า ปรทวุตฺตา คือ มีความเป็นอยู่ด้วยของผู้อื่นให้ อธิบายว่า
เลี้ยงชีวิตด้วยของที่ได้จากผู้อื่น. บทว่า มิคภูเตน เจตสา วิหรนฺติ มีใจ
เป็นดุจมฤคอยู่ คือ เป็นผู้ตั้งอยู่ในฝ่ายแห่งความไม่หวังอยู่. จริงอยู่มฤคได้รับ
การประหารแล้วไม่คิดว่า เราจักไปยังที่อยู่ของมนุษย์แล้วจักได้ยาหรือน้ำมันใส่
แผล ครั้นได้รับการประหารแล้วจึงเข้าไปยังป่าที่มิใช่บ้าน ทำที่ถูกประหารไว้
เบื้องหลังแล้วนอน ครั้นสบายดีก็ลุกไป. มฤคทั้งหลายตั้งอยู่ในฝ่ายแห่งความไม่
หวังอย่างนี้. ท่านกล่าวว่า มิคภูเตน เจตสา วิหนฺติ มีใจเป็นดุจมฤคอยู่หมาย
ถึงข้อนี้. บทว่า ตญฺหิ ตสฺส คือการผูกด้วยเชือกนั้น ชื่อว่าเป็นเครื่องผูก
บอบบาง เพราะพญาช้างนั้นมีกายใหญ่มีกำลังมาก จึงเป็นเครื่องผูกที่ขาดได้ง่าย
ดุจเถาวัลย์หัวด้วนฉะนั้น. บทว่า เตสํ ตํ คือ โทษเพียงเล็กน้อยของภิกษุ
เหล่านั้นเป็นโทษที่ละได้ง่าย เพราะกุลบุตรทั้งหลายมีศรัทธามากมีปัญญามาก
แม้วัตถุแห่งปาราชิกอันเป็นของใหญ่ก็ละได้ง่าย ดุจเพียงวัตถุแห่งอาบัติทุกกฏ
ฉะนั้น.
บทว่า ทลิทฺโท คนจน คือ เป็นผู้ประกอบด้วยความขัดสน บทว่า
อสฺสโก คือ ไม่มีอะไรเป็นของตน. บทว่า อนาฬฺหิโย คือไม่ใช่คนมั่งคั่ง.
บทว่า อคาริกํ มีเรือนหลังเล็ก. บทว่า โอลุคฺควิลคฺคํ มีเครื่องมุง
และเครื่องผูกหลุดลุ่ย คือ มีเครื่องมุงบังหลุดจากหลังคาลงมาเกี่ยวอยู่ที่ฝา

หลุดจากฝาลงมากองที่พื้น. บทว่า กากาติปายึ ต้องคอยไล่กา คือ ในเวลา
นั่งข้างในด้วยคิดว่าจักบริโภคอะไร ๆ ชื่อว่ากิจด้วยประตูไม่มีต่างหาก. แต่นั้น
ฝูงกาก็จะเข้าไปรุมล้อม แต่กากล้า ในเวลาหนีก็จะหนีออกไปซึ่งๆ หน้า. บทว่า
น ปรมรูปํ มีทรงไม่งาม คือ มีทรงไม่งามเหมือนเรือนของผู้มีบุญ. บทว่า
กโฬปิกา มีแคร่อันหนึ่ง. บทว่า โอลุคฺควิลุคฺคา หลุดลุ่ย คือ จะพังมิพังแหล่.
บทว่า ธญฺญสมวาปกํ คือ ข้าวเปลือกและพืชสำหรับหว่าน. ในบทนั้น ข้าว
ชื่อว่า ธญฺญํ พืชมีพืชน้ำเต้า พืชฟักเป็นต้นชื่อว่า สมวาปกํ. บทว่า
ปรมรูปํ
ไม่ใช่เป็นพันธุ์อย่างดี คือพืชบริสุทธิ์มีพืชข้าวสาลีมีกลิ่นหอมเป็นต้น
ไม่ใช่พันธุ์อย่างดีเหมือนของคนมีบุญทั้งหลาย. บทว่า ชายิกา ภรรยา คือ
ภรรยาขัดสน. บทว่า น ปรมรูปา มีรูปไม่งาม คือน่าเกลียดมีก้นห้อยเหมือน
กระเช้า ดุจปีศาจท้องพลุ้ย. บทว่า สามญฺญํ คือ ความเป็นสมณะ. บทว่า
โส วตสฺสํ โยหํ คือเราควรจะปลงผมและหนวดออกบวช. บทว่า โส น
สกฺกุเณยฺย
เขาไม่อาจ คือ แม้เขาคิดแล้วอย่างนี้ก็กลับไปเรือนไตร่ตรองว่า
ชื่อว่า บรรพชา หนัก ยากที่จะทำได้ ยากที่จะเข้าถึงได้ แม้เที่ยวไปบิณฑบาต
ใน 7 บ้านบ้าง 8 บ้านบ้างก็ต้องกลับมาล้างบาตร เราไม่อาจเป็นอยู่อย่างนี้ได้
จึงกลับมาอีก อยู่บ้านเราดีกว่า ทัพสัมภาระของหญ้าและเถาวัลย์ก็เก็บรวมทำ
ผ้าไว้ได้. บรรพชาจะทำอะไรได้. ทีนั้นเรือนหลังเล็กของเขานั้นก็ปรากฏดุจเวช-
ยันตปราสาท. ต่อแต่นั้นเขาแลดูแคร่ของเขาแล้วคิดว่า เมื่อเราไปแล้วชนทั้งหลาย
จะไม่ซ่อมแคร่นี้จักทำเป็นเตาไฟ เราควรจะได้ไม้ไผ่ทำแคร่อีก. เราจักทำอะไร
กับการบวช. ทีนั้นแคร่ของเขานั้นปรากฏดุจเป็นที่นอนอันมีสิริ. จากนั้นเขาแล
ดูหม้อใส่ข้าวเปลือกแล้วคิดว่า เมื่อเราไปแล้ว หญิงแม่เรือนนี้จักบริโภคข้าว-
เปลือกนี้กับชายนั้น. เราควรกลับมาให้ความเป็นไปของชีวิตใหม่. เราจักทำ

อะไรกับการบวช. ทีนั้น หม้อข้าวเปลือกของเขานั้นปรากฏดุจยุ้ง 1,250 หลัง
จากนั้นเขาแลดูภรรยาแล้วคิดว่า เมื่อเราไปแล้ว คนเลี้ยงช้างก็ดี คนเลี้ยงม้า
ก็ดีคนใดคนหนึ่งจักเกี้ยวภรรยานี้. เราควรจะกลับมาได้หญิงหุงอาหารอีก. เรา
จักทำอะไรกับการบวช. ทีนั้นภรรยาของเขานั้นปรากฏดุจเทวีรูปงาม. ท่านหมาย
ถึงข้อนี้จึงกล่าวบทมีอาทิว่า โส น สกฺกุเณยฺย เขาไม่สามารถดังนี้.
บทว่า นิกฺขคณานํ คือ ทองร้อยแท่ง. บทว่า จโย สะสม คือ
ทำการสะสมสืบต่อกันมา. บทว่า ธญฺญคณานํ คือ ข้าวเปลือกร้อยเกวียน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงอะไรในบทนี้ว่า จตฺตาโร เม อุทายิ
ปุคฺคลา
ดูก่อนอุทายีบุคคล 4 จำพวกเหล่านี้. บุคคลเหล่านั้นละอุปธินั้นใน
ภายหลัง. และบุคคลเหล่านั้นไม่ละอุปธินั้น เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงแสดงทั้งผู้ละและผู้ไม่ละด้วยสามารถเป็นหมวดหมู่. มิได้ทรงจำแนกเฉพาะ
ตัว.
บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงว่า บุคคลผู้ทิ้งอุปธิที่ยังละไม่
ได้แล้ว กระทำให้เป็นอัพโพหาริก มีอยู่ 4 จำพวกเหมือนบุคคลไปเพื่อต้องการ
ทัพสัมภาระ (อุปกรณ์การสร้าง) จึงตัดต้นไม้ตามลำดับ แล้วกลับมาอีก
ตัดต้นที่คดทิ้ง ถือเอาแต่ไม้ที่สมควรจะพึงนำไปประกอบการงานได้เท่านั้น
ฉะนั้น จึงทรงปรารภเทศนานี้. บทว่า อุปธิปฺปหานาย เพื่อละอุปธิ
ได้แก่เพื่อละอุปธิเหล่านี้คือ ขันธูปธิ กิเลสูปธิ อภิสังขารรูปธิ กามคุณูปธิ. บทว่า
อุปฺธิปฏิสํยุตฺตา อันประกอบด้วยอุปธิ คือแล่นไปในอุปธิ.
ในบทว่า สรสงฺกปฺปา นี้มีความดังต่อไปนี้ . ชื่อว่า สรา เพราะ
อรรถว่า แล่นไป วิ่งไป. ชื่อว่า สงฺกปฺปา เพราะอรรถว่าดำริ. เอาความว่า
ความดำริที่แล่นไป. แม้ด้วยบททั้งสองนี้ ท่านกล่าวถึงวิตกนั่นเอง. บทว่า

สมุทาจรนฺติ คือ ครอบงำ ประพฤติท่วมทับ. บทว่า สํยุตฺโต คือประกอบ
ด้วยกิเลสทั้งหลาย. บทว่า อินฺทฺริยเวมตฺตตา คือความต่างแห่งอินทรีย์. บทว่า
กทาจิ กรหจิ บางครั้งบางคราว คือ ล่วงไป ๆ ในเวลานานมาก. บทว่า
สติสมฺโมสา คือเพราะความหลงลืมแห่งสติ. บทว่า นิปาโต คือตกลงไปใน
กระทะเหล็ก. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ท่านแสดง 3 หมวด คือ ยังละไม่ได้ 1 ละ 1
ละได้เร็ว 1.
ใน 3 หมวดนั้น ชน 4 จำพวก ชื่อว่าละไม่ได้. 4 จำพวก ชื่อว่าละ.
4 จำพวก ชื่อว่าละได้เร็ว. ในบุคคลเหล่านั้น ชน 4 จำพวกเหล่านี้ คือ
ปุถุชน 1 พระโสดาบัน 1 พระสกทาคามี 1 พระอนาคามี 1 ชื่อว่ายังละไม่ได้.
ปุถุชนเป็นต้นยังละไม่ได้ จงยกไว้. พระอนาคามียังละไม่ได้เป็นอย่างไร. เพราะ
พระอนาคามีแม้นั้นก็ยังยินดีว่า โอ สุข โอ สุข ตราบเท่าที่ยังมีความอยากได้
ในภพของเทวดาอยู่. ฉะนั้นจึงชื่อว่ายังละไม่ได้. ส่วนชน 4 จำพวกเหล่านี้
ชื่อว่าละได้. พระโสดาบันเป็นต้น ละได้ จงยกไว้ก่อน. ปุถุชนละได้อย่างไร.
เพราะปุถุชนผู้เจริญวิปัสสนาทำความสังเวชว่า เมื่อกิเลสเกิดขึ้นทันทีทันใด
เพราะความหลงลืมแห่งสติ กิเลสเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุเช่นเรา ดังนี้จึงประคอง
ความเพียรเจริญวิปัสสนา ถอนกิเลสด้วยมรรค. ปุถุชนนั้นชื่อว่าละได้ด้วย
ประการฉะนี้. ชน 4 จำพวกเหล่านั้น ชื่อว่าละได้โดยเร็ว. ท่านถือเอาตติย-
วาระในสูตรเหล่านี้ คือ ในสูตรนี้ ในมหาหัตถิปโทปมสูตร ในอินทริยภาวนา-
สูตรโดยแท้. แม้ปัญหาก็พึงทราบว่าท่านกล่าวไว้แล้วในทุติยวารนั่นแหละ.
เบญจขันธ์ ชื่อว่า อุปธิ ในบทนี้ว่า อุปธิ ทุกฺขสฺส มูลํ เบญจขันธ์อันชื่อว่า
อุปธิเป็นมูลแห่งทุกข์. ครั้นรู้ว่าอุปธินั้นเป็นมูลแห่งทุกข์ดังนี้แล้ว เป็นผู้ไม่มี

อุปธิด้วยกิเลสูปธิ. อธิบายว่าไม่มีรกชัฏ ไม่มีตัณหา. บทว่า อุปธิสงฺขเย
วิมุตฺโต
น้อมจิตไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ คือน้อมจิตไปใน
นิพพาน อันเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาจากอารมณ์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นยังบุคคล 4 ประเภทให้พิสดารอย่างนี้แล้ว บัด
นี้เพื่อทรงแสดงว่าบุคคลใดละได้ บุคคลนั้นชื่อว่าละกิเลสประมาณเท่านี้ ได้.
บุคคลใดยังละไม่ได้ แม้บุคคลนั้นก็ชื่อว่ายังละกิเลสประมาณเท่านี้ไม่ได้ จึง
ตรัสบทมีอาทิว่า ปญฺจ โข อิเม อุทายิ กามคุณา ดูก่อนอุทายี กามคุณ 5
เหล่านี้แล. ในบทเหล่านั้นบทว่า มิฬฺหสุขํ คือความสุขไม่สะอาด. บทว่า
อนริยสุขํ ไม่ใช่สุขของพระอริยะ คือสุขอันพระอริยะไม่เสพ. บทว่า ภายิตพฺพํ
ควรกลัวแต่การได้รับความสุขนี้บ้าง แต่วิบากบ้าง. บทว่า เนกฺขมฺมสุขํ
คือความสุขอันเกิดแต่การออกจากกาม. บทว่า ปวิเวกสุขํ ความสุขเกิดแต่
ความสงัดจากหมู่บ้าง จากกิเลสบ้าง. บทว่า อุปสมสุขํ ความสุขเกิดแต่ความ
สงบ คือความสุขเพื่อประโยชน์แก่ความสงบจากราคะเป็นต้น . บทว่า
สมฺโพธิสุขํ คือความสุขเกิดแต่ความตรัสรู้พร้อม คือความสุขเพื่อประโยชน์แก่
ความเกิดแห่งความตรัสรู้พร้อมกล่าวคือมรรค. บทว่า น ภายิตพฺพํ ไม่พึงกลัว
คือไม่พึงกลัวแต่การได้สุขนี้บ้าง แต่วิบากบ้าง. ความสุขนี้ควรให้เกิดมี.
บทว่า อิญฺชิตสฺมึ วทามิ ปฐมฌานเรากล่าวว่ายังหวั่นไหว คือเรา
กล่าวว่า หวั่นไหว ยุ่งยาก ดิ้นรน. บทว่า กิญฺจ ตตฺถ อิญฺชิตสฺมึ คือปฐม-
ฌานนั้นยังมีอะไรหวั่นไหว. บทว่า อิทํ ตตฺถ อิญฺชิตสฺมึ นี้เป็นความหวั่นไหว
ในปฐมฌานนั้น คือวิตกวิจารยังไม่ดับ นี้เป็นความหวั่นไหวในปฐมฌานนั้น.
แม้ในทุติยฌานและตติยฌานก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า อเนญฺชิตสฺมึ วทามิ จตุตถฌานนี้เรากล่าวว่าไม่หวั่นไหว
คือ จตุตถฌานนี้เรากล่าวว่าไม่หวั่นไหว ไม่ยุ่งยาก ไม่ดิ้นรน.

บทว่า อนลนฺติ วทามิ คือเรากล่าวว่าไม่ควรทำความอาลัย. พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ไม่ควรให้ความอาลัยในตัณหาเกิดขึ้นในฌานนี้.
อีกอย่างหนึ่ง เรากล่าวว่าไม่ควรทำความตกลงใจว่า ไม่พอ ไม่มีที่สิ้นสุด
เพียงเท่านี้จึงจะพอ. บทว่า เนวสญฺญานาสญฺญายตนสฺสปิ คือ เรากล่าว
การละสมาบัติอันสงบแล้วแม้เห็นปานนี้. บทว่า อณุํ วา ถูลํ วา สังโยชน์
ละเอียดก็ดี หยาบก็ดี ได้แก่สังโยชน์เล็กก็ดี ใหญ่ก็ดี คือมีโทษน้อยก็ดี
มีโทษมากก็ดี. บทที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น.
อนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนา ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระ-
อรหัต ด้วยสามารถบุคคลที่ควรแนะนำได้ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาลฏุกิโกปมสูตรที่ 6

7. จาตุมสูตร


เรื่องพระอาคันตุละพูดเสียงดัง


[186] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อามลกีวัน ใกล้บ้าน
จาตุมา ก็สมัยนั้น ภิกษุประมาณห้าร้อยรูป มีพระสารีบุตรและพระโมค-
คัลลานะ
เป็นหัวหน้าไปถึงจาตุมคาม เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ภิกษุอาคัน-
ตุกะเหล่านั้น ปราศรัยกับภิกษุเจ้าถิ่น จัดเสนาสนะ เก็บบาตรและจีวร เป็นผู้มี
เสียงสูง มีเสียงดัง. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่านพระอานนท์
มาว่า ดูก่อนอานนท์ ผู้ที่เสียงสูงเสียงดังนั้น เป็นใคร ราวกะชาวประมงแย่ง
ปลากัน.
ท่านพระอานนท์ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุประมาณ
ห้าร้อยนั้น มีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นหัวหน้า มาถึงจาตุมคาม
เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุผู้อาคันตุกะเหล่านั้น ปราศรัยกับภิกษุเจ้าถิ่น
จัดเสนาสนะเก็บบาตรและจีวรอยู่ เป็นผู้มีเสียงสูง มีเสียงดัง.
ดูก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงไปเรียกพวกภิกษุมาตามคำของเรา
ว่าพระศาสดาตรัสเรียกท่านทั้งหลาย ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้า
แล้ว จึงเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่พัก ได้กล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า พระศาสดา
ตรัสเรียกท่านทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว เข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่
ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุ